บทวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ จาก มีดประจำตัว สู่ น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่ : สัมพันธภาพสะท้อนสังคมของ “มีด” และ “ใบหน้า” ของ ชลเทพ อมรตระกูล และบทวิจารณ์ของ ภาณุ ตรัย เขียนถึง ชลเทพ อมรตระกูล
บทวิจารณ์ จาก มีดประจำตัว สู่ น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่ : สัมพันธภาพสะท้อนสังคมของ “มีด” และ “ใบหน้า” ของ ชลเทพ อมรตระกูล เป็นบทวิจารณ์ที่พยายามจะเขียนให้ เรื่องสั้น “มีดประจำตัว” ของ ชาติ กอบจิตติ กับ เป็นเหมือนกับต้นแบบของการเขียนเรื่องสั้น “น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่” ของ ภาณุ ตรัยเวช โดยใช้รูปแบบของวรรณกรรม และสัญญะ “มีด” กับ “ใบหน้า” เป็นตัวเชื่อมระหว่างสองเรื่องนี้ และนำเสนอเกี่ยวกับ การ “เล่น” กับความเป็นเรื่องแต่งของ เรื่องสั้น “มีดประจำตัว” กับ เรื่องสั้น “น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่” ที่เชื่อมโยงกันในฐานะ “วรรณกรรมแนวสร้างสรรค์” การเปิดเรื่องของบทวิจารณ์กล่าวถึง “วรรณกรรมแนวสัจนิยม” ที่มุ่งเน้นตีแผ่ความเลวร้ายในสังคมและสร้างจิตสำนึกให้ผู้อ่าน กล่าวคือเป็นวรรณกรรมแนวสะท้อนสังคม ซึ่ง ชลเทพ อมรตระกูล กล่าวว่า “รูปแบบวรรณกรรมดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติใด ๆ เลย แต่กลับยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมความเลวร้ายเหล่านั้นจนผู้อ่านชินชาด้วยเหตุเพราะเราอาจหลงลืมไปชั่วขณะว่าวรรณกรรมแนวใดหรือวัตถุประสงค์เพื่อสิ่งใด” การจะกล่าวว่าผู้อ่านหลงลืมว่าวรร