บทกวี “เมล็ดพันธุ์” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ


       บทกวีนี้ได้สะท้อนการใช้ชีวิตของคนในสังคม ในแง่ของการแบ่งปัน โดยได้เล่าว่า มีมะม่วงลูกหนึ่ง มีคนสองคนกำลังแบ่งกันกินมะม่วงลูกนั้นอยู่ โดยที่ต่างคนต่างผลัดกันกัดผลัดกันกินคนละคำ โดยที่มีการทะเลาะหรือแย่งกันแต่อย่างใด เมื่อกินเสร็จก็ได้โยนเมล็ดที่กินเนื้อจนหมดแล้วลงที่พื้น เมื่อการเวลาผ่านไปเมล็ดมะม่วงนั้นก็ได้เติมโตตามธรรมชาติ จากความข้างต้นนี้จะวิเคราะห์ได้ว่า ในการแบ่งปันนั้นเมื่อต่างฝ่ายต่างแบ่งปันกันนั้นทั้งคู่ต่างก็จะได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น และเมื่อรู้จักแบ่งปันก็จะเกิดความปรองดองความสามัคคี ถึงแม้ว่าต่างฝ่ายต่างได้ส่วนที่ต้องการแล้วนั้น และในส่วนที่ไม่ต้องการนั้นเมื่อมันอยู่ในสภาพที่ดีอยู่นั้นบางครั้งบางอย่างถึงแม้อาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะทิ้งหรือตั้งใจที่จะทำมันก็ตาม แต่ก็อาจจะทำให้เกิดผลที่ไม่ได้ขาดคิดขึ้นได้ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นก็อาจจะทำประโยชน์ให้เราอีกมากมายก็ได้ การใช้ชีวิตของคนในสังคมก็เช่นกัน เมื่อรู้จักแบ่งปัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน สังคมก็จะเกิดความสงบสุข ไม่ใช่เพียงแต่ในประเทศเราเท่านั้น แต่กับทุกที่ทุกประเทศบนโลกนี้ก็เช่นกัน เหมือนกับในช่วงที่สองของบทกวีนี้ ได้เล่าเกี่ยวกับ ต้นมะม่วงต้นหนึ่งซึ่งอยู่ตรงรั้วระหว่างครอบครัว ๒ ครอบครัว ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์ที่เด็กจากสองครอบครัวได้ทะเลาะแย่งผลม่วงกัน โดยที่ผู้เล่านั้นได้บอกว่า
อย่าถึงต้องช่วงชิงกันบ้าระห่ำ
ผลัดกันกัดทีละคำเถอะนะลูกเอย
เพื่อเมล็ดพันธุ์จะได้งอกเงยอย่างงดงาม
อย่าเหมือนลุกไม้ในสวนแห่งความเห็นแก่ตัว
ที่เขากั้นรั้วด้วยขวากแหลมและเรียวหนาม.
ซึ่งบทความข้างต้นได้บอกเล่าโดยให้ความหมายว่า ไม่ควรที่จะแย่งชิงกันด้วยความโหดร้าย ควรที่จะแบ่งปันกันอย่างประนีประนอม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย และเมื่อเมล็ดไม่ได้เกิดความเสียหาย เมล็ดนั้นก็จะสามารถงอกเงยเป็นต้นมะม่วงต้นใหม่ได้ ซึ่งก็จะสร้างผลประโยชน์ให้อีกมากมาย แต่ถ้าต่างเห็นแก่ตัวแล้วนั้นก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดความเลวร้ายขึ้นได้


กมลรัตน์ กรุดสายสอาด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องสั้น นกเขาไฟ : ความเชื่อเรื่องนกเขาไฟกับความคิดของคนในสังคมไทย

วิจารณ์วรรณคดีบทละครนอก เรื่องสังข์ทอง ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต

บทวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ จาก มีดประจำตัว สู่ น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่ : สัมพันธภาพสะท้อนสังคมของ “มีด” และ “ใบหน้า” ของ ชลเทพ อมรตระกูล และบทวิจารณ์ของ ภาณุ ตรัย เขียนถึง ชลเทพ อมรตระกูล