บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

บทวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ จาก มีดประจำตัว สู่ น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่ : สัมพันธภาพสะท้อนสังคมของ “มีด” และ “ใบหน้า” ของ ชลเทพ อมรตระกูล และบทวิจารณ์ของ ภาณุ ตรัย เขียนถึง ชลเทพ อมรตระกูล

            บทวิจารณ์ จาก มีดประจำตัว สู่ น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่ : สัมพันธภาพสะท้อนสังคมของ “มีด” และ “ใบหน้า” ของ ชลเทพ อมรตระกูล เป็นบทวิจารณ์ที่พยายามจะเขียนให้ เรื่องสั้น “มีดประจำตัว” ของ ชาติ กอบจิตติ กับ เป็นเหมือนกับต้นแบบของการเขียนเรื่องสั้น “น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่” ของ ภาณุ ตรัยเวช โดยใช้รูปแบบของวรรณกรรม และสัญญะ “มีด” กับ “ใบหน้า” เป็นตัวเชื่อมระหว่างสองเรื่องนี้ และนำเสนอเกี่ยวกับ การ “เล่น” กับความเป็นเรื่องแต่งของ เรื่องสั้น “มีดประจำตัว” กับ เรื่องสั้น “น้องเมย์ไปงานเลี้ยงปีใหม่” ที่เชื่อมโยงกันในฐานะ “วรรณกรรมแนวสร้างสรรค์”             การเปิดเรื่องของบทวิจารณ์กล่าวถึง “วรรณกรรมแนวสัจนิยม” ที่มุ่งเน้นตีแผ่ความเลวร้ายในสังคมและสร้างจิตสำนึกให้ผู้อ่าน กล่าวคือเป็นวรรณกรรมแนวสะท้อนสังคม ซึ่ง ชลเทพ อมรตระกูล กล่าวว่า             “รูปแบบวรรณกรรมดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติใด ๆ เลย แต่กลับ...

บทกวี “เมล็ดพันธุ์” ในรวมบทกวี “มือนั้นสีขาว” โดย ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ

       บทกวีนี้ได้สะท้อนการใช้ชีวิตของคนในสังคม ในแง่ของการแบ่งปัน โดยได้เล่าว่า มีมะม่วงลูกหนึ่ง มีคนสองคนกำลังแบ่งกันกินมะม่วงลูกนั้นอยู่ โดยที่ต่างคนต่างผลัดกันกัดผลัดกันกินคนละคำ โดยที่มีการทะเลาะหรือแย่งกันแต่อย่างใด เมื่อกินเสร็จก็ได้โยนเมล็ดที่กินเนื้อจนหมดแล้วลงที่พื้น เมื่อการเวลาผ่านไปเมล็ดมะม่วงนั้นก็ได้เติมโตตามธรรมชาติ จากความข้างต้นนี้จะวิเคราะห์ได้ว่า ในการแบ่งปันนั้นเมื่อต่างฝ่ายต่างแบ่งปันกันนั้นทั้งคู่ต่างก็จะได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น และเมื่อรู้จักแบ่งปันก็จะเกิดความปรองดองความสามัคคี ถึงแม้ว่าต่างฝ่ายต่างได้ส่วนที่ต้องการแล้วนั้น และในส่วนที่ไม่ต้องการนั้นเมื่อมันอยู่ในสภาพที่ดีอยู่นั้นบางครั้งบางอย่างถึงแม้อาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะทิ้งหรือตั้งใจที่จะทำมันก็ตาม แต่ก็อาจจะทำให้เกิดผลที่ไม่ได้ขาดคิดขึ้นได้ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นก็อาจจะทำประโยชน์ให้เราอีกมากมายก็ได้ การใช้ชีวิตของคนในสังคมก็เช่นกัน เมื่อรู้จักแบ่งปัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน สังคมก็จะเกิดความสงบสุข ไม่ใช่เพียงแต่ในประเทศเราเท่านั้น แต่กับทุกที่ทุกประเทศบนโลกนี้ก็เช่นกัน เหม...

เรื่องสั้น นกเขาไฟ : ความเชื่อเรื่องนกเขาไฟกับความคิดของคนในสังคมไทย

            รวมเรื่องสั้น ก่อกองทราย ของไพฑูรย์ ธัญญา เป็นหนังสือที่รวมเรื่องสั้น 12 เรื่อง ได้แก่ คนบนสะพาน, คนต่อนก, เพื่อนบุญ, คือชีวิต...และเลือดเนื้อ, ผู้ประทุษร้าย, อุบาทว์, คำพยากรณ์, เรือปลาเที่ยวสุดท้าย, นกเขาไฟ, ความตกต่ำ, ก่องกองทราย และบ้านใกล้เรือนเคียง ซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์ ปี 2530             เรื่องสั้น “นกเขาไฟ” หนึ่งในเรื่องสั้น 12 เรื่อง ของหนังสือรวมเรื่องสั้น ก่อกองทราย เป็นเรื่องราวของ คุณครูสอนวิทยาศาสตร์ ที่เลี้ยงนกเขาไฟ ในขณะที่เขาเลี้ยงนกเขาไฟอยู่นั้น ก็เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น และความกดดัดที่หลายคนมักจะบอกให้เขาปล่อยนกเขาไฟไปเพราะเชื่อว่าการที่นกเขาไฟอยู่ในบ้านจะทำให้เจอแต่เรื่องไม่ดี จึงทำให้เขาต้องตัดสินใจปล่อยนกเขาไฟไป ซึ่งผู้เล่าเรื่องนี้คือ คุณครูสอนวิทยาศาสตร์             สิ่งที่แสดงเห็นได้เด่นชัดของเรื่อง นกเขาไฟ คือเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับนกเขาไฟ ว่าหากผู้ใดนำนกเขาไฟมาเลี้ยงหรือนำเข้า...